วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่4 เรื่องที่4 ปัจจัยที่มีผลต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

 การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
1.   

   

    ศึกษาเรื่องการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing : E-Retailing)
1.1แนะนำการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
อิเล็กทรอนิกส์สโตร์ฟร้อน (Electronic   Storefont) คือ เป็นเว็บไซต์ร้านค้าเสมือน (Virtual Store) ใช้เสนอขายสินค้าหรือบริการของตนเอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
 -แบบทั่วไป (General Storefront)
-แบบเฉพาะกิจ (Specialized Storefront)
อิเล็กทรอนิกส์มอลล์ (Electronic Mall)คือ เว็บไซต์กลางที่รวบรวมเว็ปไซต์ต่างๆเข้าไว้ในที่เดียวกัน อาจเรียกว่า ร้านค้าเสมือน(Cybermall) เปรียบเสมือน ห้างสรรพสินค้า
1.2กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคขั้นตอนก่อนการตัดสินใจ(Prepurchase)ขั้นตอนการซื้อจริง (Actual Purchase)ขั้นตอนหลังการซื้อ(Postpurchase)ผู้บริโภคที่ต้องการประหยัดเวลาผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาผู้บริโภคที่มีหัวก้าวหน้าผู้บริโภคที่ชอบท่องแต่ไม่ชอบซื้อผ่านอินเตอร์เน็ตผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าที่เห็นหน้าค่าตาหรือจับต้องได้เท่านั้นผู้บริโภคที่นิยมสืบเสาะเสวงหาสิ่งแปลกใหม่ผู้บริโภคที่นิยมตรายี่ห้อสินค้าผู้บริโภคที่ชอบยกระดับคุณภาพชีวิต
1.3เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์
 เว็บไซต์ท่าขายสินค้า(Shopping Portals Site) หมายถึง เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการขายสินค้าและบริการ ซึ่งเปรียบได้กับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมผู้ขายสินค้ารายต่าง ๆ เอาไว้แล้วจัดหมวดหมู่ของสินค้าและบริการอย่างเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังผู้ขายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้เว็บไซต์ท่ายังให้บริการเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าและบริการตามราคา ประเภท คุณสมบัติ และเงื่อนไขของผู้ซื้อด้วย โดยเว็บไซต์ท่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่เว็บไซต์ท่าที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Special Niche) เช่น www.krungthongplaza.com และเว็บไซต์ท่าที่ขายสินค้าและบริการหลากหลายชนิด เช่น(Comprehensive)http://market.yellowpages.co.th
             เว็บไซต์ตัวแทนปัญญา (Shopbots Software Agent) หรือที่เรียกว่า “Shopping Robot” เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับค้นหาและเปรียบเทียบสินค้าและบริการในด้านต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่ผู้ซื้อต้องการ เช่น เงื่อนไขด้านราคา คุณภาพ และความนิยมของสินค้า เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้มักจะนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) มาประยุกต์ใช้เช่นเดียวกับเครื่องมือประเภทเสิร์ชเอนจิ้นตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้เช่นwww.pricegrabbler.comและwww.mysimon.com เป็นต้น เว็บไซต์ตัวแทนปัญญายังมีบริการคอยส่งอีเมล์ เพื่อแจ้งข่าวสารไปยังลูกค้าเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น บริษัทจัดลดราคาสินค้า แนะนำสินค้าใหม่ หรือมีการประมูลสินค้ารอบสุดท้าย เป็นต้น รวมถึงการส่งข่าวสารตามความสนใจของลูกค้าที่ได้เคยกรอกรายละเอียด ไว้ในเว็บไซต์นั้นด้วย เช่น ในเว็บไซต์ Yahoo.com มีช่องรายการให้ผู้สมัครสมาชิกคลิกเลือกประเภทข้อมูลที่สนใจจะรับข่าวสารจากทางบริษัท เป็นต้น
          เว็บไซต์วัดความนิยมหรือเรทติ้ง (Business Rating Site) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความนิยม โดยเปรียบเทียบผู้ขายสินค้าและบริการแต่ละรายผ่านทางเว็บไซต์ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้ซื้อได้ระบุความต้องการที่จะเปรียบเทียบตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้เช่นwww.bizrate.comและwww.gomez.com
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์พอสังเขป
                ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) กล่าวคือ ธุรกิจไม่ควรมุ่งเน้นถึงผลกำไรจากการขายสินค้ามากจนเกินไป แต่ควรกำหนดราคาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และหากพบว่ามีสินค้าบางรายการอาจให้ผลกำไรไม่คุ้มค่ากับการลงทุนก็ไม่ควรนำมาเสนอขายด้วยวิธีนี้ตราสินค้า (Branding) ตราสินค้าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตลาดเป็นอย่างมากเนื่องจากลูกค้าจะใช้วิธีจดจำชื่อตราสินค้าเพื่อจำแนกสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย ดังนั้นบริษัทควรส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถจดจำตราสินค้าของตนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจใช้วิธีโฆษณาด้วยการแลกเปลี่ยนลิงค์ชื่อตราสินค้าระหว่างกันหรือโฆษณาผ่านทางเสิร์ชเอ็นจิ้นและเว็บไซต์ไดเรกทอรีก็ได้ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงต้นทุนของค่าโฆษณาด้วยซึ่งไม่ควรมีราคาสูงจนเกินไป
             ประสิทธิภาพ (Performance) หมายถึง ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะรองรับ และสนับสนุนการทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะต้องมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงและให้บริการได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะเว็บไซต์จะต้องแสดงผลได้อย่างรวดเร็วเพราะหาแสดงผลล่าช้าจนเกินไป ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความเบื่อหน่ายจนละทิ้งเว็บไซต์ของบริษัทได้

1.4แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ตามแหล่งที่มาของรายได้ค่าบริการจากสมาชิก(Subscription)ค่าธรรมเนียมจากการทำรายการ (Transaction Fee)ค่าโฆษณา(Advertising) ค่าสนับสนุนจากผู้รับผลประโยชน์(Sponsorship)
แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ตามคุณลักษณะของเว็บไซต์การตลาดขายตรง(Direct Marketing) คือการขายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้ซื้อสินค้าโดยตรงโดยอาศัยช่องทาง เช่นผ่านอีเมล์ แฟกซ์ และโทรศัพท์ เช่นwww.sony.comและ www.dell.com,www.avon.co.th เป็นต้นการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว(Pure-E-Retailing)
คือการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคโดยตรงผ่านทางเว็บไซต์
แบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์การขายปลีกแบบผสมผสาน(Mixd Retailing) หมายถึงการขายสินค้าแบบควบคู่กันไปทั้ง 2 ทาง ไม่ว่าจะขายสินค้าผ่านเว็บไซต์และการขายผ่านหน้าร้าน
1.5การวางแผนทางการตลาดสำหรับการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
การวางแผนทางการตลาด 4 P
- ผลิตภัณฑ์ (Product) สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตรงความต้องการของลูกค้า ทางด้านราคา คุณภาพ รูปแบบ สีสัน และประโยชน์ใช้สอย
- ราคา( Price) การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้า ดังนั้นควรตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสมกับตลาดและผู้บริโภค
- การส่งเสริมการตลาด(Promotion) กระบวนการที่จะทำให้ขายสินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนเชื่อด้วย การ ลด แลก แจก แถมสินค้า เป็นต้น
1.6กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จในการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
-การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว
-เพิ่มพลังการเรียนรู้ให้แก่ลูกค้าด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย
-ช่องทางบริการที่เป็นเลิศ
-ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
-ความสามารถในการทำกำไร(Profitability)
-ตรายี่ห้อ(Branding)
-ประสิทธิภาพ(Performance)
-การออกแบบเว็บไซต์(Web site Design)
1.7ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภค
ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์
การบริการส่วนบุคคล
ความสะดวกสบาย
บริการหลังการขาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น